by www.zalim-code.com

วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555



22 พฤศจิกายน 2555
 
 
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 
 
EAED  2204   เวลา  8.30 - 12.20น.
 
 
 
             วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาเขียนชื่อจริงของตัวเองและวาดภาพที่เราชื่นชอบลงในกระดาษที่อาจารย์แจกให้และอาจารย์ก็ได้ถามว่าใครที่มาก่อนเวลา 8.30น.บ้าง และดิฉันก็ได้ยกมือตอบอาจารย์ก็ได้ให้ออกไปหน้าชั้นเรียนพร้อมทั้งนำป้ายชื่อไปติดบนกระดานที่อาจารย์ได้แบ่งกลุ่มให้  โดยจะมีเกณฑ์ในการกำหนดไว้เป็น เวลา ว่าใครที่มาก่อน 8.30น. และ 8.30น.  จะทำให้มีการรู้จำนวนว่าการจำนวนนั้นเป็นการนับว่า เด็กที่มาก่อน 8.30น. มีจำนวน 8 คน จะทำให้เด็กรู้จำนวนทั้งหมดจะแสดงเป็นตัวเลข
ดังนั้น  ตัวเลขจะเป็นสัญญาลักษณ์ทางคณิตศาสตร์เป็นเลขฮินดูอาราบิค
สรุปได้ว่า เด็กที่มาก่อนเวลา 8.30น. มีจำนวน 8 คน
 
           ขอบข่ายของคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
 
              นิตยา  ประพฤติกิจ.2541:17-19
 
การนับ  (Counting)  คือ เป็นการนับจำนวนที่เพิ่มขึ้นและจำนวนที่ลดลง
ตัวเลข   (Number)   คือ การแทนค่าที่เป็นจำนวนตัวเลข การเรียงลำดับ
การจับคู่  (Matching) คือ  กรจับคู่ของความเหมือน  รูปร่าง
การจัดประเภท  (Classification) คือ การใช้เกณฑ์ในการจัดกลุ่ม
การเปรียบเทียบ  (Comparing)  คือ การสังเกต กรประมาณด้วยตา
การจัดลำดับ (Ordering)  คือ การจัดลำดับให้เป็นหมวดหมู่
รูปทรงและเนื้อที่ (Shape  and  space ) คือ  การมีพื้นที่มีปริมาณ มีความสูง ความกว้าง
การวัด (Measurement) คือ การใช้เครื่องมือในการวัด จะได้ค่าได้ปริมาณที่ได้เป็นตัวเลข
เซต (Set) คือ การจัดกลุ่ม
เศษส่วน (Fraction) คือ ให้เด็กได้รู้ของทั้งหมดจำนวนเต็ม
การทำตามแบบหรือลวดลาย (Patterning)  คือ  แบบพื้นฐานที่เข้าใจร่วมกัน
การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ (Conservation)  เช่น การยกตัวอย่างของน้ำในแก้วน้ำ
 


วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555



15 พฤศจิกายน 2555

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

EAED 2204 เวลา 8.30 - 12.20 .

     วันนี้อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มกลุ่มละ 3 คน กลุ่มดิฉันมีสมาชิกดังนี้

นางสาว กนกกร พอกระโทก
นางสาว ภรณ์ไพลิน  สุขสวัสดิ์
นางสาว นรภัทร  วงศ์ขัน

       อาจารย์ก็ได้นักศึกษาแต่ละกลุ่มคิดความหมาย จุดมุ่งหมาย วิธีการสอน และขอบข่ายของคณิตศาสตร์เป็นความคิดของกลุ่มตัวเอง และกลุ่มของดิฉันก็ได้ให้ความหมาย จุดมุ่งหมาย วิธีการสอน และขอบข่ายไว้ดังนี้

      ความหมายของคณิตศาสตร์

     คณิตศาสตร์ คือภาษา เพื่อใช้ในการสื่อสารในแต่ละแบบ สื่อความหมาย ติดต่อ เพื่อการค้า และเพื่อการเรียนรู้ที่ใช้ตัวเลขเป็นสื่อกลางที่ใช้ในการสื่อสารและยังทำให้เกิดความคิดที่มีระบบ มีเหตุผล ปละยังใช้แก้สถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นคณิตศาสตร์จึงเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นจำนวนหรือการคิดและคำนวณที่จะผ่านเข้ามาในแต่ละวัน

   กระทรวงศึกษาธิการ.การสังเคราะห์งานวิจัย เกี่ยวกับการเรียนการสอนคณิตศาสตร์.2537

  จุดมุ่งหมายของคณิตศาสตร์

     สอนให้เด็กรู้จำนวนตัวเลข วิธีคิด และการประยุกต์ใช้จากประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันโดยประสบการณ์นั้นจะเป็นทักษะให้กับเด็กในการคิดคำนวณจึงกลายเป็นพื้นฐานสำหรับเด็กเพื่อให้เด็กรู้จักแก้ไขปัญหาอย่างมีเหตุผล และทำให้เด็กมีทัศนะคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์

  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย.กุลยา  ตันติผลาชีวะ. 2551

วิธีการสอนคณิตศาสตร์

      เริ่มจากตัวผู้สอนที่ต้องเตรียมตัวในเนื้อหาบทเรียนการพูดเพื่อสร้างทัศนะคติที่ดีแก่เด็ก เพื่อให้เด็กเกิดความสนใจและอยากที่จะลงปฎิบัติในกิจกรรมนั้น โดยที่ผู้สอนเริ่มจากนำประสบการณ์ความรู้โดยการถามคำถามและจึงนำเข้าสู่กิจกรรม เมื่อจบกิจกรรมจึงถามถึงความรู็ที่ได้รับในวันนี้ตามความคิดเห็นแล้วจึงนำไปปรับปรุง แก้ไขเพื่อให้เด็กชอบกิจกรรมคณิตศาสตร์ อย่างไรก็ตามผู้สอนควรจะคำนึงถึงกลุ่มผู้เรียนเป็นสำคัญ

ขอบข่ายของคณิตศาสตร์

      ขอบข่ายของคณิตศาสตร์จะสอนให้รู้ถึงความหมาย ความเข้าใจ ทักษะกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ ทฤษีของคณิตศาสตร์ จุดมุ่งหมายและการนำไปใช้












วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555



8 พฤศจิกายน 2555

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

EAED 2204 เวลา 8.30 - 12.20 น.


     วันนี้อาจารย์ได้ถามนักศึกษาว่า การแบ่งกลุ่มของเด็กจะแบ่งได้อย่างไรบ้างและจะแบ่งเด็กเป็นกลุ่มเป็น 2 กลุ่มได้อย่างไรบ้าง

        เพื่อนๆในห้อง ก็ได้ตอบว่า จะแบ่งกลุ่มด้วยการ 

       ให้เด็กนับ 1 และ 2  สลับกัน   
       ให้เด็กจับฉลาก
       แบ่งเด็กผมสั้น ผมยาวบ้าง
แต่การที่จะแบ่งกลุ่มเด็กที่เป็นกลุ่มผมสั้น ผมยาวนั้น ก็จะต้องมีกฎเกณท์อยู่ว่า ถ้าใครที่มีผมสั้นถึงบ่าจะ อยู่ในกลุ่มผมสั้น  แต่ถ้าเกิด เด็กคนไหนที่มีผมยาวเลยบ่าลงไปจะอยู่ในกลุ่มผมยาว

   อาจารย์ก็ได้ถามนักศึกษาว่าอะไรที่เป็นคณิตศาสตร์ในห้องเรียนบ้าง
เพื่อนๆในห้องตอบว่า

โต๊ะ จะให้รูปทรง ขนาด จำนวน
เงินในกระเป๋า จะให้เป็นจำนวนเงินในกระเป๋า และค่าของเงิน
หลอดไฟ จะให้รูปทรง จำนวน
กระเป๋า จะให้รูปทรง รูปร่าง น้ำหนัก ความยาวความกว้าง

วันนี้อาจารย์ได้ให้การบ้านไปทำที่ห้องสมุดและมีโจทย์ดังนี้

1. สำรวจหนังสือที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ พร้อมทั้งให้เขียนชื่อหนังสือ ชื่อผู้เขียน ปีพ.ศ. และ เลขหมู่หนังสือ

2. ดูความหมายของคณิตศาสตร์ พร้อมทั้งเขียนชื่อหนังสือ ชื่อผู้เขียน หน้า จากหนังสืออะไร และ ปี พ.ศ. มา1คน

3. จุดมุ่งหมาย/เป้าหมายในการสอนคณิตศาสตร์

4. ทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์ หรือ วิธีการสอนคณิตศาสตร์

5. ขอบข่ายของคณิตศาสตร์

ส่งสัปดาห์หน้า


วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555



1 พฤศจิกายน 2555

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

EAED 2204  เวลา 8.30 - 12.20 น.


     วันนี้เป็นวันเปิดภาคเรียนของภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 เป็นวันแรกและก็เป็นวิชาที่เรียนเป็นคาบแรก อาจารย์ก็ได้มีการตกลงและการสร้างข้อตกลงกับนักศึกษา ว่า  
   1. เรื่องของการเข้าเรียน เข้าเรียนห้ามเกิน 9 โมงเช้า 
   2. เรื่องของการแต่งกาย

         วันนี้อาจารย์ให้ทำกิจกรรมในห้องเรียนโดยที่อาจารย์จะแจกกระดาษ A4 ให้ นักศึกษาคนละ1แผ่น แล้วให้เขียนชื่อ นามสกุล และวันที่ให้เรียบร้อย หลังจากนั้น อาจารย์ก็ได้ตั้งคำถามถามว่า ในความคิดของนักศึกษาแต่ละคนมีความคิดว่าวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ว่าหมายถึงอะไรในคำของคำว่า คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย มาคนละ 2 ประโยค และของดิฉันก็ได้เขียนไว้ว่า

        การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย คือ การจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เกิดทักษะการคิด การสังเกต จากการที่เด็กได้ทำกิจกรรรม และ เป็นการฝึกฝนให้เด็กได้ใช้ทักษะทางสติปัญญาในการคิดแก้ไขปัญหาและการหาคำตอบ

และอาจารย์ก็ได้ถามคำถามอีกว่า ในการเรียนวิชานี้ตั้งเป้าหมายในการเรียนไว้อย่างไร

     ดิฉันได้เขียนไว้ว่า  เรียนรู้ช่วงชั้นอายุของเด็กกับการพัฒนาการทางความคิด
ได้ลงมือปฎิบัติในการทำกิจกรรมกับเด็ก 

อาจารย์ท่านก็ได้อธิบายรายวิชาว่า การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ควรที่จะรู้อะไรบ้าง   สิ่งที่ควรรู้ในวิชานี้คือ การจัดประสบการณ์,คณิตศาสตร์,เด็กปฐมวัย  และอาจารย์ก็ได้ถามนักศึกษาว่า เด็กปฐมวัยควร รู้อะไรบ้าง สิ่งที่ควรรู้คือ พัฒนาการของเด็ก 

  พัฒนาการของเด็ก มีทั้ง 4 ด้าน แต่ในรายวิชานี้ จะเน้นเรื่องของ พัฒนาการด้านสติปัญญา 
และก็ได้ใช้ทฤษฎีของเพียเจต์ ในเรื่องของ สติปัญญา มาเป็น แนวทาง และก็ได้รู็ว่า           
   เด็กตั้งแต่แรกเกิด ถึง 2 ปี จะเรียนรู้จากการหาประสบการณ์สิ่งรอบตัวจากประสาทสัมผัสทั้ง ห้า
   เด็กอายุ 2-6 ปี แบ่งเป็น

              2-4 ปี  จะมีการรับรู้ผ่านวิธีการเรียนรู้ต่างๆ
              4-6 ปี   จะมีการส่งให้สมองรับรู้โดยสมองมีการรับรู้นั้นอยู่แล้ว

พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง เช่น พลิกตัว คว่ำ คืบ คลาน นั่ง ยืน เดิน วิ่ง 

เพิ่มเติม ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์






       เพียเจต์ (Piaget) ได้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม เขาอธิบายว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนาการจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง เพราะจะทำให้เกิดผลเสียแก่เด็ก แต่การจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงที่เด็กกำลังจะพัฒนาไปสู่ขั้นที่สูงกว่า สามารถช่วยให้เด็กพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม เพียเจต์เน้นความสำคัญของการเข้าใจธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กมากกว่าการกระตุ้นเด็กให้มีพัฒนาการเร็วขึ้น เพียเจต์สรุปว่า พัฒนาการของเด็กสามารถอธิบายได้โดยลำดับระยะพัฒนาทางชีววิทยาที่คงที่ แสดงให้ปรากฏโดยปฏิสัมพันธ์ของเด็กกับสิ่งแวดล้อม 

ทฤษฎีการเรียนรู้ 

พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น ดังนี้


 1.   ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ เช่น การไขว่คว้า การเคลื่อนไหว การมอง การดู ในวัยนี้เด็กแสดงออกทางด้านร่างกายให้เห็นว่ามีสติปัญญาด้วยการกระทำ เด็กสามารถแก้ปัญหาได้ แม้ว่าจะไม่สามารถอธิบายได้ด้วยคำพูด เด็กจะต้องมีโอกาสที่จะปะทะกับสิ่งแวดล้อมด้วยตนเอง ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพัฒนาการด้านสติปัญญาและความคิดในขั้นนี้ มีความคิดความเข้าใจของเด็กจะก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เช่น สามารถประสานงานระหว่างกล้ามเนื้อมือ และสายตา เด็กในวัยนี้มักจะทำอะไรซ้ำบ่อยๆ เป็นการเลียนแบบ พยายามแก้ปัญหาแบบลองผิดลองถูก เมื่อสิ้นสุดระยะนี้เด็กจะมีการแสดงออกของพฤติกรรมอย่างมีจุดมุ่งหมายและสามารถแก้ปัญหาโดยการเปลี่ยนวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการแต่กิจกรรมการคิดของเด็กวัยนี้ส่วนใหญ่ยังคงอยู่เฉพาะสิ่งที่สามารถสัมผัสได้เท่านั้น

  2.    ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น คือ
-- ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผลเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่ เพราะเด็กยังคงยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง คือถือความคิดตนเองเป็นใหญ่ และมองไม่เห็นเหตุผลของผู้อื่น ความคิดและเหตุผลของเด็กวัยนี้ จึงไม่ค่อยถูกต้องตามความเป็นจริงนัก นอกจากนี้ความเข้าใจต่อสิ่งต่างๆ ยังคงอยู่ในระดับเบื้องต้น เช่น เข้าใจว่าเด็กหญิง 2 คน ชื่อเหมือนกัน จะมีทุกอย่างเหมือนกันหมด แสดงว่าความคิดรวบยอดของเด็กวัยนี้ยังไม่พัฒนาเต็มที่ แต่พัฒนาการทางภาษาของเด็กเจริญรวดเร็วมาก

-- ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของวัตถุ เข้าใจความหมายของจำนวนเลข เริ่มมีพัฒนาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ แต่ไม่แจ่มชัดนัก สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้โดยไม่คิดเตรียมล่วงหน้าไว้ก่อน รู้จักนำความรู้ในสิ่งหนึ่งไปอธิบายหรือแก้ปัญหาอื่นและสามารถนำเหตุผลทั่วๆ ไปมาสรุปแก้ปัญหา โดยไม่วิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนเสียก่อนการคิดหาเหตุผลของเด็กยังขึ้นอยู่กับสิ่งที่ตนรับรู้ หรือสัมผัสจากภายนอก

 3.   ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage) ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 7-11 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้ เด็กวัยนี้สามารถที่จะเข้าใจเหตุผล รู้จักการแก้ปัญหาสิ่งต่างๆ ที่เป็นรูปธรรมได้ สามารถที่จะเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องความคงตัวของสิ่งต่างๆ โดยที่เด็กเข้าใจว่าของแข็งหรือของเหลวจำนวนหนึ่งแม้ว่าจะเปลี่ยนรูปร่างไปก็ยังมีน้ำหนัก หรือปริมาตรเท่าเดิม สามารถที่จะเข้าใจความสัมพันธ์ของส่วนย่อย ส่วนรวม ลักษณะเด่นของเด็กวัยนี้คือ ความสามารถในการคิดย้อนกลับ นอกจากนั้นความสามารถในการจำของเด็กในช่วงนี้มีประสิทธิภาพขึ้น สามารถจัดกลุ่มหรือจัดการได้อย่างสมบูรณ์ สามารถสนทนากับบุคคลอื่นและเข้าใจความคิดของผู้อื่นได้ดี

 4.   ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage) นี้จะเริ่มจากอายุ 11-15 ปี ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอด คือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง เด็กจะสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่ สามารถที่จะคิดแบบนักวิทยาศาสตร์ สามารถที่จะตั้งสมมุติฐานและทฤษฎี และเห็นว่าความเป็นจริงที่เห็นด้วยการรับรู้ที่สำคัญเท่ากับความคิดกับสิ่งที่อาจจะเป็นไปได้ เด็กวัยนี้มีความคิดนอกเหนือไปกว่าสิ่งปัจจุบัน สนใจที่จะสร้างทฤษฎีเกี่ยวกับทุกสิ่งทุกอย่างและมีความพอใจที่จะคิดพิจารณาเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่มีตัวตน หรือสิ่งที่เป็นนามธรรมพัฒนาการทางการรู้คิดของเด็กในช่วงอายุ 6 ปีแรกของชีวิต ซึ่งเพียเจต์ ได้ศึกษาไว้เป็นประสบการณ์ สำคัญที่เด็กควรได้รับการส่งเสริม มี 6 ขั้น ได้แก่ 
1. ขั้นความรู้แตกต่าง (Absolute Differences) เด็กเริ่มรับรู้ในความแตกต่างของสิ่งของที่มองเห็น
2. ขั้นรู้สิ่งตรงกันข้าม (Opposition) ขั้นนี้เด็กรู้ว่าของต่างๆ มีลักษณะตรงกันข้ามเป็น 2 ด้าน เช่น มี-ไม่มี หรือ เล็ก-ใหญ่
3. ขั้นรู้หลายระดับ (Discrete Degree) เด็กเริ่มรู้จักคิดสิ่งที่เกี่ยวกับลักษณะที่อยู่ตรงกลางระหว่างปลายสุดสองปลาย เช่น ปานกลาง น้อย
4. ขั้นความเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง (Variation) เด็กสามารถเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ เช่น บอกถึงความเจริญเติบโตของต้นไม้
5. ขั้นรู้ผลของการกระทำ (Function) ในขั้นนี้เด็กจะเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลง
6. ขั้นการทดแทนอย่างลงตัว (Exact Compensation) เด็กจะรู้ว่าการกระทำให้ของสิ่งหนึ่งเปลี่ยนแปลงย่อมมีผลต่ออีกสิ่งหนึ่งอย่างทัดเทียมกัน