by www.zalim-code.com

วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555



22 พฤศจิกายน 2555
 
 
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 
 
EAED  2204   เวลา  8.30 - 12.20น.
 
 
 
             วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาเขียนชื่อจริงของตัวเองและวาดภาพที่เราชื่นชอบลงในกระดาษที่อาจารย์แจกให้และอาจารย์ก็ได้ถามว่าใครที่มาก่อนเวลา 8.30น.บ้าง และดิฉันก็ได้ยกมือตอบอาจารย์ก็ได้ให้ออกไปหน้าชั้นเรียนพร้อมทั้งนำป้ายชื่อไปติดบนกระดานที่อาจารย์ได้แบ่งกลุ่มให้  โดยจะมีเกณฑ์ในการกำหนดไว้เป็น เวลา ว่าใครที่มาก่อน 8.30น. และ 8.30น.  จะทำให้มีการรู้จำนวนว่าการจำนวนนั้นเป็นการนับว่า เด็กที่มาก่อน 8.30น. มีจำนวน 8 คน จะทำให้เด็กรู้จำนวนทั้งหมดจะแสดงเป็นตัวเลข
ดังนั้น  ตัวเลขจะเป็นสัญญาลักษณ์ทางคณิตศาสตร์เป็นเลขฮินดูอาราบิค
สรุปได้ว่า เด็กที่มาก่อนเวลา 8.30น. มีจำนวน 8 คน
 
           ขอบข่ายของคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
 
              นิตยา  ประพฤติกิจ.2541:17-19
 
การนับ  (Counting)  คือ เป็นการนับจำนวนที่เพิ่มขึ้นและจำนวนที่ลดลง
ตัวเลข   (Number)   คือ การแทนค่าที่เป็นจำนวนตัวเลข การเรียงลำดับ
การจับคู่  (Matching) คือ  กรจับคู่ของความเหมือน  รูปร่าง
การจัดประเภท  (Classification) คือ การใช้เกณฑ์ในการจัดกลุ่ม
การเปรียบเทียบ  (Comparing)  คือ การสังเกต กรประมาณด้วยตา
การจัดลำดับ (Ordering)  คือ การจัดลำดับให้เป็นหมวดหมู่
รูปทรงและเนื้อที่ (Shape  and  space ) คือ  การมีพื้นที่มีปริมาณ มีความสูง ความกว้าง
การวัด (Measurement) คือ การใช้เครื่องมือในการวัด จะได้ค่าได้ปริมาณที่ได้เป็นตัวเลข
เซต (Set) คือ การจัดกลุ่ม
เศษส่วน (Fraction) คือ ให้เด็กได้รู้ของทั้งหมดจำนวนเต็ม
การทำตามแบบหรือลวดลาย (Patterning)  คือ  แบบพื้นฐานที่เข้าใจร่วมกัน
การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ (Conservation)  เช่น การยกตัวอย่างของน้ำในแก้วน้ำ
 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น